การดูแลสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สร้างภูมิคุ้มกันโรคร้ายต่างๆ

การดูแลสุขภาพ

การดูแลสุขภาพ นพ.เรย์ ดี แสตรนด์ กูรูด้านสารอาหารบำบัด เคยกล่าวว่า ศัตรูที่นำความเสื่อมมาสู่ร่างกายมนุษย์ คือ อนุมูลอิสระ และร่างกายเราไม่สามารถรับมือกับอนุมูลอิสระเหล่านี้ได้ทุกประเภท เราจึงต้องหาอาหารเสริมมาเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้ร่างกายอย่างเพียงพอ ก็จะไม่มีโรคภัยใดๆเกิดขึ้นในร่างกายเราได้

        การดูแลสุขภาพ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับทุกคน เพราะสุขภาพของเรานั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้คนเรานั้นมีอายุยืนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายได้ ในปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันที่รีบเร่ง การทำงานที่นั่งโต๊ะทำงานเป็นจำนวนมาก อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณโดยไม่รู้ตัว อาจส่งผลให้เกิดความเครียดได้ แล้วยิ่งไม่มีเวลาที่จะดูแลสุขภาพ ไม่มีเวลาออกกำลังกายเท่าที่ควร การออกกำลังกายเป็นยารักษาโรคอีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะช่วยให้ร่างกายนั้นแข็งแรงได้ รวมไปถึงเรื่องการรับประทานอาหาร ชีวิตประจำวันของคนทำงานบางส่วน ก็ยังทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพอย่างเช่น อาหารสำเร็จรูปทั้งหลายที่มี โปรตีน หรือ มีวิตามินน้อยกว่าการรับประทานอาหารทั่วไป 

          อาหารเสริมก็เป็นทางเลือก ที่จะช่วยให้คนเราช่วยดูแลสุขภาพของเราได้อีกทางหนึ่ง และกลายเป็น ทางเลือกและผู้ช่วยในการดูแลสุขภาพ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า อัตราการเสียชีวิต ที่เกิดจากโรคเรื้อรัง มีมากขึ้นเรื่อยๆ  ร้อยละ 65 ของสาเหตุการเสียชีวิต มากจากโรค NCDs หรือ กลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อ อันได้แก่ โรคระบบหัวใจหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื่้อรัง โรคเหล่านี้ ล้วนก่อตัวและมีระยะเวลาการดำเนินของโรคที่ยาวนาน

โรค NCDs เป็นโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อโรค แต่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วยเอง ในด้านต่างๆ อาทิ อาหารการกิน การทำงาน การพักผ่อน และการออกกำลังกาย เสริมด้วยปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิต ทั้งหมดนี้ล้วนป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเราเอง และหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ก่อปัญหาให้แก่สุขภาพของเรา 

การดูแลสุขภาพ

พฤติกรรมเสี่ยง…ตัวการก่อโรค NCDs

สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ  ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้ จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ 

ความรุนแรงของโรค

แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี 

ปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยง

การป้องกันโรค NCDs ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเรา นั่นก็คือการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ผ่อนคลายความเครียด
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

         แต่ด้วยในโลกปัจจุบัน อาจจะไม่เอื้ออำนวยให้เราดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม ได้ตลอดเวลา เช่น เราอาจจะไม่สามารถบริโภคอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายได้อย่างเพียงพอในแต่ละวัน ความเหนื่อยล้าจากการทำงาน อาจทำให้ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ความเคร่งเครียดและการแข่งขันทำให้ขาดการพักผ่อน เมื่อเราใช้ร่างกายอย่างหักโหม ความเสื่อมย่อมยังเกิด อนุมูลอิสระก่อตัวขึ้นมากมาย อันจะนำพาไปสู่จุดเริ่มของโรคร้ายทั้งหลายนั่นเอง 

ข้อคิดจากองค์ทะไลลามะ

มนุษย์เป็นสิ่งที่แปลกที่สุดในโลกเพราะเค้ายอมสละสุขภาพเพื่อหาเงินแล้วก็สละเงินเพื่อให้สุขภาพฟื้นคืนมา เขาห่วงอนาคตมากจนไม่มีความสุขกับปัจจุบัน ผลคือเขาไม่อยู่ทั้งปัจจุบันและอนาคต เขาอยู่เหมือนจะไม่มีวันตายและสุดท้ายเขาก็ตายไปโดยไม่ได้มีชีวิตอยู่จริง

          สุขภาพเป็นต้นทุนที่มีค่ามากที่สุด ของทุกๆคน รองจากเวลา ถ้าสุขภาพไม่ดีก็ไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรต่างๆ ที่ต้องการได้ สิ่งใดที่เคยทำก็ทำไม่ได้ ดังนี้นจึงเป็นเรื่องที่น่าคิดว่าเราควรหันมาใส่ใจ  การดูแลสุขภาพ  แม้การดูแเลสุขภาพ อาจจะทำให้เราได้เงินน้อยลงบ้าง แต่ก็สามารถทำให้มั่นใจได้ว่า เราจะยังมีสุขภาพทั้งร่างกาย และจิตใจที่ดีหลังเกษียณแล้ว เพื่อใช้เงินที่หามาได้อย่างคุ้มค่า เป็นผู้สูงวัยที่กระฉับกระเฉง ร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ เพราะจิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์  ถ้าไม่มีการดูแลสุขภาพให้ดี อาจจะมีการสะสมของสารอาหารที่มากเกินไป การกินอาหารที่มากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ จะกลายเป็นอาหารที่เป็นพิษ เมื่อเข้าไปสะสมในร่างกาย การไม่ดูแลสุขภาพ และการทำงานหนัก หรือทำงานในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง สามารถทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา กลุ่มโรคที่เราเป็นคนกำหนดหรือสร้างขึ้นมาเองนั้น มีสาเหตุมาจาก

  1. ความผิดปกติของระบบเผาผลาญของร่างกาย หรือ กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงสารอาหารต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายผิดปกติไป
  2. การเสื่อมของเซลล์และเนื้อเยื่อไปตามอายุขัย เมื่อคนเราเมื่อสูงวัยขึ้นหากไม่ดูแลเรื่องอาหารการกิน อนุมูลอิสระจะยิ่งเพิ่มสะสมมากขึ้น เพราะร่างกายผลิตสารต้านอนุมูลอิสระได้น้อยลง ทั้งยังไม่ได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป สารอนุมูลอสิระดังกล่าวก็จะเข้าไปทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกายได้ หรืออาจจะทำให้เซลล์กลายพันธุ์ เป็นเซลล์มะเร็ง หรือมีการสะสมของสารอาหารที่มากเกินไปในร่างกาย เช่นไขมันเกาะตามหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเล็กลง ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดแตกในสมอง หัวใจวายเฉียบพลัน
  3. การทำงานที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ
  4. การขาดสารอาหาร
  5. มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
  6. มีพฤติการรมเกี่ยวกับสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การดื่มเหล้่า สูบบุหรี่ ก็อาจจะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคตับแข็ง หรือมะเร็งปอดได้มาก การทานหวานมากเกินไป เค็มมากเกินไป หารไม่ออกกำลังกาย
  7. ความเครียด สามารถทำให้เกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เริ่มจากระบบประสาทอัตโนมัติ แล้วส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อ เช่น ความเครียดนานๆทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร

การป้องกันโรค NCDs นั้น ทางที่ดีต้องป้องกันจากพฤติกรรมตามแนวทาง 3 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ รวมถึงการไม่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ต้องคุมปัจจัยเหล่านี้ แล้วคุณจะลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรค NCDs  

5 วิธีดูแลสุขภาพง่าย ๆ 

1. การเลือกรับประทานอาหาร ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อร่างกาย การจะเกิดผลดีหรือผลเสียนั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายจะนำไปพัฒนาและซ่อมแซมในส่วนต่าง ๆ เพราะสุขภาพดีสร้างได้ เพียงแค่เราเริ่มเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และลดอาหารที่มีแคลอรีสูง ของทอด ปิ้ง-ย่าง หรืออาหารที่มีไขมันเยอะ เพราะหากร่างกายเผาผลาญไม่หมดก็จะกลายเป็นไขมันสะสมในร่างกายในที่สุด ทางที่ดีควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม เลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์

2. บริหารสมอง การบริหารสมองก็เป็น 1 ใน 5 วิธีดูแลสุขภาพที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงได้ ลองหาเกมฝึกสมองมาเล่น เช่น เกมอักษรไขว้ เกมจำตำแหน่งภาพ เกมจับผิด เกมซูโดกุ หรือเกมหมากรุกจีน และควรหันมารับประทานผลไม้พวก ส้ม องุ่น เบอร์รี่ให้มากขึ้นด้วย เพราะผลไม้จำพวกนี้มีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดอาการหลง ๆ ลืม ๆ หรือการหัวเราะก็ช่วยให้เลือดไหลเวียนดียิ่งขึ้น เพราะร่างกายจะหลั่งสารเคมีในระบบประสาทที่ทำให้ผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลดีทั้งร่างกาย จิตใจ อีกทั้งคนรอบข้างก็จะมีความสุขตามไปด้วย

3. พักสายตาจากการเสพสื่อโซเชียล ทุกวันนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนหรือทำอะไรก็ต้องถ่ายรูป แชร์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไม่ให้พลาดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ซึ่งถ้าใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็จะให้ผลดีแก่เรา แต่ถ้าใช้มากเกินไปนอกจากจะทำให้เป็นคนติดโซเชียลแล้ว ยังอาจทำให้กล้ามเนื้อดวงตาเมื่อยล้า หรือตาแห้งเพราะต้องคอยจ้องอยู่ที่หน้าจอเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการเบลอ สายตาพร่ามัว หรือสายตาสั้นได้ ทางที่ดีควรพักสายตา และบริหารดวงตาของเราด้วย เช่น กะพริบตา กลอกตาไปมาเพื่อป้องกันตาแห้ง หรือมองไปยังวัตถุที่อยู่ไกล ก็จะช่วยให้ผ่อนคลายดวงตาลงได้ และถ้าลดโซเชียลลงบ้าง ก็จะทำให้ไม่ต้องเครียดจากการเสพข่าว สุขภาพจิตดีขึ้น

4. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจจะเป็นสิ่งที่ยากที่สุดของใครหลาย ๆ คน แต่การออกกำลังกายมีประโยชน์มากมายกว่าที่เราคิด เพราะนอกจากจะได้สุขภาพที่ดี อวัยวะภายในร่างกายจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำให้เรามีภูมิต้านทานห่างไกลโรคภัยต่าง ๆ สุขภาพจิตก็ดีตามไปด้วย จึงควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีหลังเลิกงาน ลองเดินออกกำลังกายที่สวนสาธารณะใกล้บ้าน วิ่ง หรือแอโรบิค ก็ล้วนแต่ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีทั้งนั้น แต่หากใครไม่มีเวลาออกกำลังกายจริง ๆ งานบ้านก็อาจจะช่วยได้เหมือนกัน เช่น ทำสวน กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างรถ ก็ถือเป็นการออกกำลังกายไปในตัว ทั้งยังทำให้บ้านสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วย

5. พักผ่อนให้เพียงพอสุขภาพดีสร้างได้ง่าย ๆ เพียงแค่เรานอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดังนั้น เมื่อทำกิจวัตรต่าง ๆ ในแต่ละวันเสร็จเรียบร้อยแล้ว การพักผ่อนที่ดีที่สุด คือ การนอน เพราะร่างกายจะได้ซ่อมแซมฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ ควรนอนให้ครบ 8 ชั่วโมงและนอนให้เป็นเวลา เพราะหากนอนดึกเกินไป ร่างกายอาจเหนื่อยล้าได้ อีกทั้งยังมีผลเสียตามมา เช่น มีริ้วรอย เสี่ยงต่อโรคภัยต่าง ๆ ทางที่ดีควรพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อตื่นขึ้นมารับวันใหม่ ร่างกายจะได้สดชื่นและตื่นตัวตลอดทั้งวัน สุขภาพร่างกายก็จะดีตามไปด้วย