สารอาหารในงาดำ อุดมไปด้วยสารอาหารอันทรงคุณค่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย

สารอาหารในงาดำ ธัญพืชเพื่อสุขภาพ

         สารอาหารในงาดำ เป็นอาหารที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการมาก โดยมีส่วนผสมของสารอาหารต่างๆ ครบทุกชนิด และยังพบสารที่มีคุณสมบัติที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ซึ่งได้รับรายงานการศึกษาวิจัยทั่วโลก ทั้งในระดับโมเลกุล และในคน เป็นสารกลุ่มของลิกแนน ชื่อว่า เซซามิน

สารอาหารในงาดำ

         ภายในเม็ดงานั้นมีองค์ประกอบสำคัญคือ น้ำมัน โดยจจะมีมากถึงร้อยละ 44-60 น้ำมันงาที่ได้นั้นมีฤทธิ์ช่วยในการต่อต้านการเกิดออกซิไดซ์ทำให้ร่างกายเกิดสมดุล ช่วยละลอความเสื่อมโทรมของส่วนต่างๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆอีกด้วย จึงมีการนิยมนำมาใส่ในอาหารจำพวก สลัด ใช้ปรุงอาหารทั่วไป และใส่ในขนมต่างๆ นอกจากนั้นยังเป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่ ยา น้ำมัีนหล่อลื่น และยังเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางบางชนิดอีกด้วย

          มีหลายๆคนยกให้งาดำ เป็น ราชาแห่งธัญพืช เพราะอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของมนุษย์มาโดยตลอดไม่ว่ายุคไหนสมัยใด แรกเริ่มเดิมทีเชื่อกันว่าเป็นพืชพื้นเมืองในแถบเอเชียหรือไม่ก็แอฟริกาตะวันออก ซึ่งในปัจจุบันนี้อาจจะพบได้หลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งร้อนของโลก

งาดำ ราชาแห้งธัญพืช

          กระแสความตื่นตัวในเรื่องสุขภาพในปัจจุบันนี้ นับว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น อาจจะเป้นเพราะทุกวันนี้เกิดโรคร้ายแรงมากขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือดต่างๆ  วิธีการแก้ไขก็คือ การป้องกัน ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพลังจากธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนสวิธีการกินให้เหมาะสมและถูกต้อง หันมาบริโภคสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่มีคุณค่าต่อร่างกายอย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ช่วยได้คือ งาดำ  

          สารอาหารในงาดำ นั้นจะช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ร่างกายแข็งแรง ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ระบบเลือด บำรุงหัวใจ และทำให้ร่างกายห่างไกลจากโรคร้ายสารพัด ก็เพราะในงาดำมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากมาย โดยสารอาหารทั้งหมดต่างอัดแน่นอยู่ในธัญพืช เม็ดเล็กๆ อย่างเต็มเปี่ยมดังต่อไปนี้

​เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในเรื่องของกระดูกและฟัน เพราะร้อยละ 99 ของแคลเซียมทั้งหมดใน่างกายของคนเราต่างอยู่บริเวณกระดูกและฟันแทบทั้งสิ้น ในงาดำมีปริมาณแคลเซียมอยูในปริมาณที่สูงมาก นอกจากนั้นยังช่ยในการทำงานของระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อให้เป็นปกติ รักษาสมดุลของกรดต่างๆในเลือด และช่วยให้ความดันเลือดเป็นปกติ ช่วยลดการเกิดกระดูกเปราะและหักง่าย ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเกิดกับผู้สูงอายุ ภาวะการขาดแคลเซียมยังส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ปวดข้อ ปวดกระดูกอีกด้วย

 

อย่างที่เรารู้กันบ้างแล้วว่างาดำนั้นเป็นธัญพืชที่ให้น้ำมัน โดยน้ำมันที่ได้นั้นมีไขมันอิ่มตัวแทบทั้งสิ้น ซึ่งมี 2 แบบ คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และ ไขมันไม่อิ่มตัวเขิงซ้อน ในเม็ดงาดำ 100 กรัม มีไขมันไม่อิ่มตัวทั้ง 2 แบบนี้รวมกันถึง 40-60 กรัม

ไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยว ช่วยดูแลให้ระบบทางเดินเลือดและหัวใจทำงานได้ดี มีการไหลเวียนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้เลือดเหลว ไม่หนืดและข้นมากเกินไป อีกทั้งยังช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์อีกด้วย นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยให้  HDL เพิ่มสูงขึ้น

ไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มโอเมก้า 3  และกลุ่มโอเมก้า 6 ทั้งสองกลุ่มต่างมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดและหัวใจ ป้องกันโรคหลือดเลือด โรคหัวใจ และยังช่วยบำรุงเส้นผมและผิวพรรณให้ชุ่มชื้น

ในร่างกายคนเรามีธาตุเหล็กประมาณ 3.5 กรัม โดยจะกระจายตัวอยู่ในไขกระดูก เมื่อไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กเหล่านี้ก็จะถูกนำไปเป็นส่วนประกอบ กลายเป็นเม็ดเลือดแดงไหลเวียนอยู่ทั่วร่างกายของเรา ช่วยในกระบวนการนำออกซิเจนมาใช้ในร่างกาย หากร่างกายมีธาตุเหล็กในปริมาณที่น้อย ย่อมจะทำให้สามารถผลิตเม็ดเลือดแดงได้นอ้ย ทำให้เม็ดเลือดแดงทำงานได้อย่าวไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ แปรปรวนไปด้วย เกิดเป็นโรคร้ายหลายๆอย่างตามมา  ถ้าเกิดขาดธาตุเหล็กในเด็กเล็ก จะส่งผลถึงพัฒนาการทางสมองของเด็ก ทำให้ความสามารถทางสติปัญญาและการเรียนรู้ด้อยลงกว่าปกติ

ธาตุอาหารสำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยจะสะสมอยู่มากในโครงสร้างกระดูกของคนเรา มีอยู่ประมาณ 25 กรัม เป็นส่วนกระกอบสำคัญในเซลล์ต่างๆ อาทิ กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อและเซลล์สมอง นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการดูแลการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นเพื่อเผาพลาญสารอาหาร สังเคราะห์โปรตีน และช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติ สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการขาดแมกนีเซียม ส่วนมากจะเป็นผู้ที่ดื่มแอลกอฮอลล์อย่างหนัก ผู้ที่อดดาหารเพื่อลดน้ำหนัก รวมไปถึงผู้ป่วยที่งดอาหารหลังผ่าตัด ซึ่งหากปล่อยให้ขาดแมกนีเซียมเป็นเวลาลาน จะส่งผลกระทบไปยังระบบประสาท ไต หัวใจ กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และระบบการย่อยอาหาร อีกทั้งยังทำให้เลือดแข็งตัวช้าและภูมิคุ้นกันในร่างกายเสื่อมประสิทธิภาพลง

เป็นอีกธาตุหนึ่งที่พบในงาดำ ซึ่งโดยมากแล้วะานุชนิดนี้ จะพบในอาหารที่มีแคลเซียมมากอยู่แล้ว จึงกลายเป็นสองธาตุที่อยู่ด้วยกันตลอด คุณประโยชน์ของฟอสฟอรัสก็คือ ช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆตามร่างกาย

โพแทสเซียมมีลักษณะพิเศษคือ เป็นสารประกอบที่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ หรือที่เราเรียกกันว่า อิเล็กโทรไลต์ ช่วยให้ระบบสำคัญต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างมีสมดุลและมีประสิทธิภาพ อาทิ กระตุ้นประสาทการหดตัวของกล้ามเนื้อ และการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ รักษาภาวะสมดุลของน้ำในร่างกาย นำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ช่วยให้ไตขับของเสียออกจากร่างกาย กระตุ้นการทำงานของลำไส้ นอกจากนั้นยังทำงานร่วมกับโซเดียมควบคุมความสมดุลของของเหลวในเซลล์

แม้ในร่างกายของคนเราต้องการธาตุทองแดงในปริมาณที่น้อยมาก แต่ก็เป็นอีกะาตุหนึ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้เช่นกัน เพราะผู้ที่ขาดธาตุนี้มักจะมีอาการผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย และอาจมีอาการข้องโรคโลหิตจางร่วมด้วย หน้าที่กลักๆ ของธาตุทองแดงได้แก่ ช่วยให้ธาตุเหล็กดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น ช่วนในการสร้างเฮโมโกลบิน ช่วยเผาผลาญโปรตีนแลุะการสร้างสีผิวหนัง สีผม นอกจากนี้ธาตุทองแดงยังช่วยให้วิตามินสร้างอิลาสติน ทำให้ผิวพรรณเต่งตึง ไม่เหี่ยวย่นก่อนวัย คงความเป็นหนุ่มสาว

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำต่อ 100 กรัม

  • คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม
  • พลังงาน 573 กิโลแคลอรี่ 2397 กิโลจูล
  • เส้นใยอาหาร 11.8 กรัม
  • โปรตีน 17.73 กรัม
  • น้ำ 4.69 กรัม
  • น้ำตาล 0.30 กรัม
  • ไขมันรวม 49.67 กรัม
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม
  • กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม
  • กรดกลูตามิก 3.955 กรัม
  • กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม
  • เมไธโอนีน 0.586 กรัม
  • ทรีโอนีน 0.736 กรัม
  • ซีสทีอีน 0.358 กรัม
  • ซีรีน 0.967 กรัม
  • ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม
  • อะลานีน 0.927 กรัม
  • อาร์จินีน 2.630 กรัม
  • โปรลีน 0.810 กรัม
  • ไกลซีน 1.215 กรัม
  • ฮิสทิดีน 0.522 กรัม
  • ทริปโตเฟน 0.388 กรัม
  • ไทโรซีน 0.743 กรัม
  • วาลีน 0.990 กรัม
  • ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม
  • ลิวซีน 1.358 กรัม
  • ไลซีน 0.569 กรัม
  • ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม
  • เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม
  • วิตามินเอ 9 หน่วยสากล
  • วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม
  • ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม
  • ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม
  • ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม
  • ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม
  • ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม
  • ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม
  • ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม
  • ธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม