โรคเรื้อรัง แทบทุกโรคเกี่ยวข้องกับการอักเสบจากภายในที่มองไม่เห็น

การอักเสบ จุดเริ่มต้นของโรคร้ายเกือบทุกชนิด

โรคเรื้อรัง แทบทุกชนิดล้วนเกี่ยวข้องกับการอักเสบ เป็นการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะภายในของร่างกาย ซึ่งเรามองไม่เห็น จึงไม่สามารถล่วงรู้และป้องกันก่อนที่การอักเสบนั้นจะลุกลามจนทำลายอวัยะภายในไปทั้งหมด กลายเป็นที่มาของโรคร้ายต่างๆมากมาย 

การอักเสบคืออะไร

          การอักเสบ หรือ Inflammation เป็นการะบวนการที่ร่างกายเรามีปฏิกิริยา ตอบสนองต่อความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายในระดับโมเลกุล การอักเสบจะเริ่มต้นจาก ต้นตอของการอักเสบ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น (inducer) จากนั้นก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี เป็นวิถีของการอักเสบ (inflammation cascade) โดยมีเอนไซม์ย่อยไขมันส่วนที่อยู่บนผิวเซลล์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุลที่มีการกระจายตัวออกไปเป็นสายธาร (pathway) ซึ่งต้องอาศัยเอนไซม์ในขั้นตอนต่างๆ

โรคเรื้อรัง

อันตรายของ โรคเรื้อรัง อยู่ที่การเกิดพายุไซโตไคม์ ( Cytokine Storm )

          เมื่อเกิดการอักเสบขึ้น เซลล์เม็ดเลือดขาวบริเวณที่มีการอักเสบ ก็จะสร้างและปล่อยสารสื่ออักเสบออกมามากมาย เพื่อเรียกเม็ดเลือดขาวอื่นๆให้มายังบริเวณนั้นมากขึ้น เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมและเขื้อโรคชนิดต่างๆ สารสื่ออักเสบที่สร้างและปลดปล่อยออกมานั้นได้แก่ สารพวก cytokines ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Interleukin-1 Beta (IL-1 beta) และ Tumor necrosis factor alpha (TNF-alpha) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด cytokine storm หรือ ปากฏการณ์ที่มีเม็ดเลือดขาวจำนวนมากมายมารวมกัน ณ บริเวณที่มีการอักเสบ ทำให้มีการสร้างและปล่อยเอ็นไซม์มากมายมหาศาล เพื่อไปทำลายเชื้อโรค รวมทั้งทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียงด้วย ทั้งยังทำให้เกิดอนุมูลอิสระได้อย่างมากมาย ผลต่อมาคือการแตกสลายของเนื้อเยื่อ cytokine storm นี้ หากเกิดขึ้นที่ปอดก็จะทำให้น้ำท่วมปอดได้

การอักเสบภายในที่มองไม่เห็นคือที่มาของ โรคเรื้อรัง

          เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นภายนอกร่างกายเรา เราสามาถสังเกต และรักษาตลอดจนดูแลได้ง่าย เพราะสามารถสังเกตเห็นได้ทันที รักษาได้ทันที ทราบทันทีว่ามีอาการดีขึ้นหรือเปล่า แต่ถ้ามีการอักเสบที่มากเกินไปเกิดขึ้นในร่างกายล่ะ จะเป็นอย่างไร มีการศึกษาพบว่า ถ้ามีการอักเสบเกิดขึ้นแบบเรื้อรังภายในร่างกายเรา จะทำให้เกิด โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคข้อกระดูกอับเสบ ข้อเสื่อม เบาหวาน มะเร็ง อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน กระดูกพรุน โรคกระเพาะ และอื่นๆ อีกมากมาย

ค้นพบสมุนไพรต่อต้านการอักเสบ

         จากการศึกษาวิจัย โดยหน่ยวิจัยที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อ และเซลล์ต้นกำเนิด คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ค้นพบว่า งา หรือ เซซามิน ( Sesamin ) มีฤทะิ์ทางเภสัชววิทยา ที่สามารถต้านการอักเสบ ป้องกัน โรคเรื้อรัง โดยไปยับยั้งเอ็นไซม์ delta-5 desaturase ยับยั้งการแสดงออกของยีน IL-1 Beta และ TNF-alpha ที่เป็นสาเหตุของ cytokine storm 

          นอกจากนี้ ยังเพิ่มการสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น การสังเคราะห์เส้นใยคอลลาเจน และกรไฮยาลูโรนิก รวมทั้งเสริมสร้างมวลกระดูกเป็นต้น จึงทำให้งาและสารสกัดจากงา ที่ชื่อเซซามิน มีคุณสมบัติเป็นอาหารเสริมที่ฃ่วยดูแลสุขภาพ ต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิต้านทานดรค ลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี

โรคเรื้องรัง

เซซามินกับการต้านการอักเสบ จุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรัง

          การอักเสบ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของภูมิคุ้มกันในระแยกสุด อย่างไรก็ตาม ถ้าร่างกายไม่สามารถควบคุมการอักเสบ หรือมีพิษที่ทำให้เกิดการอักเสบ หรือการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ ก็จะทำให้เกิดการอักเสบที่มากเกินไป

โรคเรื้อรัง

          ถ้ามีการอักเสบเกิดขึ้นภายนอก เราสามารถสังเกตุเห็นได้ง่าย แต่ถ้าการอักเสบที่มากเกินไปนี้เกิดขึ้นภายในร่างกายที่เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆ เราสังเกตุได้ยา ยิ่งในระยะแรกๆ ด้วยแล้ว จะไม่สามารถสังเกตุหรือตรวจพบได้เลย และการอักเสบแบบเรื้อรังนี้เอง เป็นสาเหตุของ โรคเรื้อรัง เช่น หัวใจวาย มะเร็ง อัลไซเมอร์ 

          ในงาทุกชนิด เช่น งาดำ งาขาว และงาแดง พบว่ามีสารสำคัญที่จัดอย่ในกลุ่มของ ลิกแนน (lignan) คือ เซซามิน (Sesamin)  ที่มีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น การยับยั้ง หรือการต้านการอักเสบ การอักเสบที่เกิดขึ้นจากมีตัวกระตุุ้นการอักเสบ เช่น สารพิษ สิ่งแปลกปลอมต่างๆ แบคทีเรีย เข้าไปในร่างกาย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารชีวโมเลกุลต่างๆ ทำให้เกิดสารสื่ออักเสบจำนวนมากมาย จากการศึกษษาวิจัยพบว่า เซซามินสามารถไปยับยั้งเอนไซม์ delta-5 desaturase ได้ จึงทำให้สามารถต้านการอักเสบได้เป็นอย่างดี สารมารถสรุปได้ว่า โรคเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากการอักเสบแบบเรื้อรัง จึงต้องการเวลาในการรักษา

โรคเรื้อรัง

จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของคนทั่วโลกต่าง ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยเรื้อรังที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโรคเรื้อรังนับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับต้น ๆ โดยคิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 63% ของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ โรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่โรคเรื้อรังเหล่านี้เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งพัฒนาการของโรคจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ แต่ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคเกิดขึ้นแล้ว ก็มักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย นอกจากนี้เมื่อคนไข้มีอาการป่วยเรื้อรัง แล้วก็มักจะนำไปสู่อาการข้างเคียงอื่นๆ ในผู้ป่วยบางรายอาจได้รับความทรมานจากความเจ็บป่วยเรื้อรังมากกว่า 1 โรค และหากคุณมีอาการป่วยเรื้อรังก็จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณควรจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจอาการของคุณ และพร้อมช่วยคุณป้องกันไม่ให้อาการลุกลามไปสู่อาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังมักมีอาการของโรคดังต่อไปนี้

ส่วนใหญ่เกิดจากไขมันและเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น หลอดเลือดจึงมีการตีบแคบลง ทำให้เลือดทำหน้าที่นำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง ส่งผลให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งมักจะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น และหากเกิดการอุดตันของหลอดเลือดเฉียบพลัน (มักเกิดจากคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นใน) เมื่อคราบไขมันนั้นจับตัวกับเลือดและแตกออกแล้วกลายเป็นลิ่มเลือดก็จะส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอันนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือเสียชีวิตกะทันหันได้ โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคที่อาจเป็นผลจากปัจจัยทางพันธุกรรม การดำเนินชีวิต ซึ่งโภชนการก็ยังมีผลต่อการพัฒนาของโรคอีกด้วย

เป็นโรคที่เป็นภาวะเรื้อรังของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของกระบวนการสร้างอินซูลิน หรือของการทำงานของอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดเพื่อแปลงสภาพเป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมากและเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อมสมรรถภาพ จนเกิดโรคและอาการแทรกซ้อน เช่น โรคไต โรคสายตา การบาดเจ็บของเส้นประสาท ปัญหาของเท้า และอื่น ๆ ทั้งนี้โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 เป็นชนิดพึ่งอินซูลิน (IDDM) อาการของโรคจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน เบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี (โดยเฉลี่ยที่อายุประมาณ 14ปี) และเบาหวานชนิดที่ 2 คือชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน (NIDDM) มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป

ภาวะความดันโลหิตซึ่งมีระดับสูงเรื้อรัง โดยความดันโลหิต คือค่าที่ประเมินจากความดันที่ต้านอยู่ภายในหลอดเลือดในระหว่างกระบวนการไหลเวียนโลหิต ภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองแตก นอกจากนี้ น้ำหนัก ไลฟ์สไตล์ และโภชนาการต่างก็มีส่วนกระตุ้นอาการเจ็บป่วยของโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน

โรคที่มีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าค่าปกติ รวมถึงการมีระดับคลอเลสเตอรอลสูงกว่าปกติ ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงมีผลทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และอาการหัวใจวาย โรคไขมันในเลือดสูงมักเป็นผลที่เกิดจากการดำเนินชีวิตและโภชนาการที่ไม่เหมาะสม

หากหัวใจของคุณเต้นผิดจังหวะ (หรือเต้นในรูปแบบที่ผิดปกติเราจะเรียกอาการนี้ว่า อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องภายในหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกติไปด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน การหายใจขาดเป็นช่วง อาการเจ็บหน้าอก และอาจหมดสติได้หากอาการรุนแรง อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกี่ยวพันกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือโภชนาการและไลฟ์สไตล์