เบาหวานเกิดจากอะไร สาเหตุและวิธีป้องกันโรคเบาหวานต้องทำอย่างไร?

โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน

        โรคเบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย ทีมีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น โดยในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดการทำลายหลอดเลือด และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่รุนแรงมากขึ้น โดยปกติการตรวจน้ำตาลหลังงดอาหาร 8 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลจะอยู่ระหว่าง 80-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และควรได้รับการตรวจคัดกรอง ได้แก่

  • ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่อ้วน (มีค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI มากกว่า 25) และมีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
  • มีโรคความดันโลหิตสูง
  • ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
  • มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือมีประวัติคลอดทารกน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
  • มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • สตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome)

เมื่อไหร่ถึงจะบ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน

  • ตรวจน้ำตาลหลังงดอาหาร 8 ชั่วโมงมีค่าน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกหมอจะแนะนำให้ดูแลเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย และกลับมาตรวจอีกครั้ง ถ้ายังสูงหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมอจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานได้
  • ในคนที่มีอาการเบาหวานชัดเจน( หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ) ตรวจเลือดเวลาไหนก็ได้โดยไม่ต้องงดอาหารแล้วพบว่าน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • การตรวจความทนต่อกลูโคส ถ้าระดับน้ำตาลหลังดื่มน้ำตาล 2 ชั่วโมงมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ตรวจค่าน้ำตาลสะสม ถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 6.5% สามารถวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้

โรคแทรกซ้อนที่อันตรายสำหรับผู่ป่วยโรคเบาหวาน

  • เบาหวานขึ้นตา คนไข้ที่เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตาและอาจเสี่ยงตาบอดได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ควรตรวจตาอยางสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตา
  • โรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคเบาหวานสามารถทำลายหลอดเลือดต่างๆทั่วร่างกายได้ โดยเฉพาะถ้ามีไขมันสูงร่วมด้วยจะยิ่งทำลายหลอดเลือดมากขึ้น หากไปทำลายหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้
  • โรคเบาหวานลงไต เป็นภาวะไตเสื่อมสภาพเนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การทำงานของไตแย่ลงเรื่อยๆจนเกิดโรคไดวายได้

ทำอย่างไรจึงจะลดน้ำตาลในเลือดได้

  • คนที่ยังไม่เป็นเบาหวานแต่มีภาวะน้ำตาลสูง การออกกำลังกายจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้
  • คนไข้ที่เริ่มเป็นเบาหวานหากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและปรับพฤติกรรมการกินอาหาร จะกลับสู่ภาวะปกติได้ โดยไม่จำเป็นต้องกินยา
  • คนไข้ที่เป็นเบาหวานมานาน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่กับควบคุมอาหารจะช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดปริมาณยาที่กินหรือฉีดได้ จนอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาอีกเลย

เป็นโรคเบาหวาน เลือกกินอย่างไร

  • คนไข้เบาหวานควรเลือกทานอาหารหลากหลายชนิด เพื่อให้ได้สารอาหารที่ร่างกายครบถ้วน โดยเลือกอาหารที่หวานน้อย และปรับสัดส่วนอาหารให้เหมาะสมทั้ง โปรตีน แป้ง ผัก ผลไม้ และไขมันดี
  • เน้นโปรตีนจากเนื้่อปลา เต้าหู้ ไข่ไก่ ถั่วเปลือกแข็ง ผักและธัญพืชเป็นหลัก
  • ควรเลือกทานแป้งที่ยังไม่ผ่านการจัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีด 
  • คนไข้เบาหวานให้เน้นกินผักที่ไม่มีน้ำตาลหรือมีน้ำตาลน้อย เช่นผักใบเขียว
  • น้ำมันที่ใช้ทำอาหารควรเลือกเป็นไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันพืช น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว 
  • ควรเน้น เมนูต้ม นึ่ง ย่าง ผัด(น้ำมันนิดหน่อย) มากกว่าเมนูทอดหรือเมนูที่มีไขมันสูง
  • เลี่ยงไขมันทรานส์ที่พบได้ในเบเกอรีต่างๆ คุกกี้ ขนมกรุบกรอบ
  • พยายามงดของหวานทุกอย่าง 

ถ้าผู้ป่วยเบาหวานยังไม่ดูแลตัวเอง โรคผองเพื่อนของเบาหวานก็จะตามมา….

  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันสูง
  • โรคหัวใจ
  • โรคไต
  • โรคหลอดเลือด

        โรคเบาหวาน เป็นแล้วหายได้ เลือกกินให้เหมาะสม ในปริมาณที่ถูดสัดส่วน ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ คือวิธีที่ดีที่สุด ในการป้องกันรักษาโรคเบาหวาน

ในแต่ละวันจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 200 คน หรือ 8 รายต่อชั่วโมง และมีเพียง 10% ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีชีวิตอยู่โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ประเทศไทยมียอดผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานเฉลี่ยปีละกว่า 8,000 คน และพบว่าคนรุ่นใหม่มีโอกาสเป็นเบาหวานสูงขึ้นจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป