โปรตีน จำเป็นไหม สำคัญอย่างไร
โปรตีน คือสารอาหารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับร่างกาย มีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและช่วยในการทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อ และผิวหนัง
องค์ประกอบสำคัญในทุกๆเซลล์ของร่างกาย ทั้งกระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนืือ ผิวหนัง เลือด หรือแม้แต่เส้นผมและเล็บประกอบขึ้นด้วยโปรตีนเป็นหลัก และโปรตีนยังมีหน้าที่สร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ทั้งยังช่วยสังเคราะห์เอนไซม์ฮอร์โมนและสารเคมีต่างๆ คงความสมดุลของของเหลวในร่างกาย และสร้างสารภูมิต้านทานเพื่อต่อต้านการติดเชื้อ การแข็งตัวของเลือด และการก่อตัวของแผลเป็น
หากเปรียบร่างกายเรากับรถยนต์ โปรตีนก็เปรียบได้กับโครงสร้างหลักของรถ เพราะโปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย ทั้งแขน ขา คอ รวมไปถึงกล้ามเนื้อหัวใจ ฉะนั้นคนที่กินโปรตีนไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะอ่อนแอ ป่วยง่าย เหมือนรถยนต์ที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรง ไปชนอะไรนิดก็บุบ อยู่เฉยๆก็ผุพังได้ง่ายๆ
นอกจากนี้ในทุกขณะที่ร่างกายเราทำงาน ก็จะเกิดการสึกหรอเกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกายตามกาลเวลาที่ใช้งาน การซ่อมแซมก็จำเป็นต้องใช้โปรตีน ฉะนั้นหากเรากินโปรตีนไม่เพียงพอร่างกายก็ซ่อมแซมตัวเองได้ไม่เต็มที่ อวัยวะต่างๆก็จะสึกหรอและเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสงผลทำให้สุขภาพของเราแย่ลงเรื่องๆ
กรดอะมิโน คือหน่วยเล็กๆของโปรตีน โดยกรดอะมิโนจะแบ่งออกเป็นกรดอะมิโนจำเป็นและ กรดอะมิโนไม่จำเป็น
กรดอะมิโนจำเป็น ร่างกายไม่สามาถสังเคราะห์ขี้นได้เองจำเป็นต้องได้รับมาจากอาหาร
- ทริปโตเฟน(Tryptophan) ช่วยส่งเสริมการนอนหลับ ลดความเครียด บรรเทาอาการไมเกรน
- ทรีโอนีน(Threonine) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยเผาผลาญไขมัน
- ฟีนิลอะลานีน(Phenyialanine)เพิ่มความตื่นตัวความจำ ลดอาการซึมเศร้า ลดความอยากอาหาร
- เมไธโอนีน(Methionine)ช่วยในการย่อยสลายไขมัน เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระอันทรงพลัง
- ลิวซีน(Leucine)ช่วยให้เซลล์ประสาทแข็งแรงขึ้น ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง เพิ่มพลังให้กล้ามเนื้อ
- ไลซีน(Lysine)ช่วยเสริมสมาธิ ป้องกันโรคเริมและโรคกระดูกพรุน ลดปัญหาด้านการสืบพันธุ์
- วาลีน(Valine)ช่วยเพิ่มสมรรถนะของสมอง และช่วยประสานงานของกล้ามเนื้อ
- ไอโซลิวซีน(Isoleucine)ช่วยเสริมการเจริญเติบโต การทำงานของระบบประสาท ช่วยพัฒนาการเรียนรู้
- ฮิสทิตีน(Histidine)เป็นกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับทารกและเด็ก
กรดอะมิโนไม่จำเป็น ร่างกายสังเคราะห์ได้เอง จากกระบวนการเมแทบอลิซึมต่างๆ ภายในร่างกาย
- กรดกลูตามิก(Glutamic acid)เป็นเชื้อเพลิงให้แก่สมอง ช่วยจัดการกับแอมโมเนียส่วนเกิน
- กนดแอสพาร์ติก(Aspartic acid)ช่วยในการขับแอมโมเนียซึ่งเป็นสารอันตรายออกจากร่างกาย เพิ่มความทนทานต่อการเหนื่อยล้า
- กลูตามีน(Glutamine)เป็นส่วนหนึ่งของกลูต้าไธโอน เพิ่มความฉลาด และช่วยเพิ่มระดับของโกรทฮอร์โมน
- ไกลซีน(Glycine)ช่วยลดภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อย ลดโรคกล้ามเนื้อฝ่อลีบ ลดภาวะน้ำตาลต่ำ
- ซิสเทอีน(Cysteine)ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีความจำเป็นสำหรับทารกและผู้สูงอายุ
- เซรีน(Serine)ช่วยเผาผลาญไขมัน เพิ่มการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
- ไทโรซีน(Tyrosine)ช่วยส่งเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ลดอาการซึมเศร้า
- โพรลีน(Proline)ช่วยปรับโครงสร้างผิว ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
- อะลานีน(Alanine)ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดอาการต่อมลูกหมากโต
- อาร์จีนีน(Arginine)ไวอากร้าจากธรรมชาติ กระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน เพิ่มจำนวนอสุจิ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย
- แอสพาราจีน(Asparagine)กรดอะมิโนไม่จำเป็น ร่างกายสร้างขึ้นเองได้
ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการต่อวันนั้นขึ้นอยู่กับอายุ เพศ สุขภาพ น้ำหนัก พฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน
- อายุ 1-3 คูณด้วย 0.82
โปรตีน - อายุ 4-6 คูณด้วย 0.68
- อายุ 7-10 คูณด้วย 0.55
- อายุ 11-14 คูณด้วย 0.45
- อายุ 15-18 คูณด้วย 0.40
- อายุ 19 ปีขึ้นไป คูณด้วย 0.36
วิธีคำนวณ นำค่าตัวคูณจากช่วงอายุมาคูณด้วยน้ำหนักปอนด์(การคิดน้ำหนักจากกิโลกรัมเป็นปอนด์ ให้เอาน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมมาหารด้วย 0.45 ) จะเท่ากับผลลัพธ์ปริมาณโปรตีนที่ต้องการในแต่ละวัน
ประโยชน์หลักของโปรตีน
- ทำให้ร่างกายเจริญเติบดต แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค
- ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ทั้งอาการบาดเจ็บ แผลต่างๆ หรือจากการเจ็บป่วย
- ถูกนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เลือด เม็ดเลือด ผิวหนัง น้ำย่อย ฮอร์โมน ตลอดจนภูมิต้านทานเชื้อโรคต่างๆในร่างกาย
จำเป็นหรือไม่ที่ต้องรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีน
- วัยรุ่นซึ่งเป็นช่วงวัยเจริญเติบโตและต้องใช้โปรตีนเป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆมากกว่าปกติ เพราะว่าร่างกายกำลังเจริญเติบโต
- ผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นการออกกำลังกายและต้องการสร้างกล้ามเนื้อ
- เมื่อต้องการเพิ่มการออกกำลังกายกว่าระดับเดิมที่เคยทำอยู่
- นักกีฬาที่เพิ่งฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บซึ่งมักต้องการโปรตีนมากขึ้นเพื่อช่วยในการรักษาอาการบาดเจ็บ
- ผู้ที่ทานมังสวิรัติหรือไม่รับประทานเนื้อสัตว์
***สำหรับการเลือกโปรตีนจากและผลิตภัณฑ์จากสัตว์นั้น อาจจะต้องระวังในการเลือกเนื่องจาก สิ่งที่แฝงมากับโปรตีนคือ ปริมาณไขมันและคอเรสเตอรอล
***สำหรับกการเลือกแหล่งโปรตีนที่มาจากพืชก็ถือเป็นทางออกที่ดี ที่ได้รับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอและมีคอเรสเตอรอลและไขมันต่ำอีกด้วย
***โปรตีนคุณภาพสูง ร่างกายยิ่งเอาไปใช้ง่าย