เซซามินเพิ่มมวลกระดูก ลดภาวะกระดูกพรุน โรคเเกี่ยวกับกระดูกโดยเฉพาะกระดูกพรุนมักจะพบเห็นในวัยพร่องฮอร์โมนในเพศหญิง นักวิทยาศาสตร์ให้ความคิดเห็นที่ตรงกันว่า สารต่างๆ ในงาดำนั้นสามารถช่วยผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนได้ ในเมล็ดงาดำมีแคลเซียมมากกว่านมในปริมาณเดียวกัน และยังมีแร่ธาตุอีกหลายชนิดที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก เช่น สังกะสี แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส แต่ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ความสำคัญ คือ สารเซซามิน(Sesamin) ซี่งได้พบว่าแหล่งที่มาของสารชนิดนี้คือ น้ำมันงาสกัดเย็น ที่มีผลช่วยให้ความหนาของมวลกระดูกเพิ่มขึ้น
จากงานวิจัยของศุนย์วิจัยที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นกำเนิด พบว่า สารเซซามินที่สกัดได้จากงา สามารถทำให้มีการพัฒนาของเซลล์สลายกระดูกน้อยลง และส่งเสริมให้มีเซลล์สร้างกระดูกทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งได้ตีพิมพ์ลงในวารสารนานาชาติแล้ว
ในงาดำนั้น สามารถช่วยผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนได้ใน 3 ทาง คือ
- แร่ธาตุต่างๆ ในเมล็ดงาดำเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ร่างกายสามารถนำไปใช้เพื่อซ่อมกระดูกที่สึกหรอหรือมวลกระดูกที่หายไป
- น้ำมันในงาดำนั้น มีส่วนช่วยให้สมดุลของต่อมฮอร์โมนกลับคืนมา และทำให้การสั่งการของต่อมในการผลิตและหยุดยั้งฮอร์โมนเป็นไปได้อย่างเหมาะสม
- น้ำมันโอเมก้า 3-6-9 และสารเซซามินลดการอักเสบแบบองค์รวมของร่างกาย ทำให้การเสื่อมของกระดูกลดน้อยลง
นอกจากนี้เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะเป็นกรดและมีสัญญาณการอักเสบ ร่างกายจึงต้องสลายแคลเซียมจากกระดูกมาเจือจางให้ร่างกายเป็นด่างมากขึ้นเพื่อป้องกันการทำลายเซลล์ การรับประทานงาดำ ซึ่งเป็นอาหารประเภทด่างจึงช่วยยับยั้งหรือลดสภาวะร่างกายที่เป็นกรดลงได้
สุขภาพของกระดูกนั้นจะขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและการทำงานของไต เมื่อไตเสื่อมแล้ว กระดูกพรุนและเข่าเสื่อมจะตามมา สีดำตรงเปลือกหุ้มภายในอกของงาดำนั้นมีผลโดยตรงในการบำรุงไต เมื่อไตทำงานอย่างปกติ การสร้างกระดูกก็จะเป็นไปอย่างปกติ โรคกระดูกพรุนก็จะไม่เกิดขึ้น
กระดูกก็เหมือนเสาเข็ม ตอกไม่ลึก ตึกก็ถล่ม
ตึกรามบ้านช่อง หรือคอนโดสูงๆ จะตั้งตระหง่านอยู่ได้ฉันใดต้องมีเสาเข็มที่แข็งแรง เพื่อค้ำจุนไว้ฉันนั้น เช่นเดียวกัน ร่างกายคนเราก็ต้องมีกระดูกที่แข็งแรงคอยพยุงเนื้อเยื่อต่างๆให้เป็นรูปทรงอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีกระดูก เราจะไม่สามารถยืนหรือคงร่างไว้ได้ จะเป็นเพียงก้อนเนื้อที่กองอยู่บนพื้น ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวได้ กระดูกมิได้ประกอบด้วยแคลเซียมเท่านั้น ยังมีสวนประกอบอื่นๆอีกเยอะแยะมากมาย ทั้งเซลล์ที่มีชีวิต เส้นเลือด และสารชีวโมเลกุลประเภทโปรตีน เช่น คอลลาเจน เป็นต้น โครงสร้างของกระดูกแม้จะมีความแข็งแรงมาก แต่ภายในมีลักษณะเป็นโพรง ที่มีเซลล์และเนืื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิด คอยสร้างเซลล์เม็ดเลือด และเซลล์ชนิดอื่นๆอีกมากมาย
นอกจากเซลล์เม็ดเลือดแล้ว ยังมีเซลล์ที่สำคัญมากอยู่อีกสองชนิด คือ เซลล์สร้างกระดูก ที่เรียกว่า ออสทีโอบาสต์ และเซลล์สลายกระดูก เรียกว่า ออสทีโอคลาสท์ แม้ว่ากระดูกจะเป็นเนื้อเยื่อที่มีความแข็งแรง แต่แท้จริงแล้วกลับมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นจากอิทธิพลของสารชีวโมเลกุลต่างๆ ทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน และสารที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย เช่น ยาต่างๆ ที่อาจมีผลไปกดหรือยับยั้งปฏิกิริยาต่างๆของเนื้อเยื่อกระดูกได้
เซลล์ออสทีโอคลาสต์ ทำหน้าที่สลายกระดูก เมื่อร่างกายต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง เซลล์ออสทีโอคลาสต์ก็เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยจะมีเซลล์ออสทีโอบลาสต์ ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างกระดูกขึ้นมา เพื่อทำให้กระดูกแข็งแรงเหมือนเดิม แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ หรือบางครั้งร่างกายขาดสารอาหาร เกลือแร่ แคลเซียม วิตามินดี หรือ ฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นเซลล์และคอยทำหน้าที่สร้างกระดูก ก็จะทำให้มีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก จึงเป็นที่มาของโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกบาง เมือกระดูกบางมากกว่าปกติ ก็ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง และแตกหักง่าย