เบาหวาน อาหารจากธรรมฃาติ เซซามินสารสกัดจากงาดำช่วยได้อย่างไร?

สาเหตุหนึ่งของ เบาหวาน มาจากการอักเสบระดับเนื้อเยื่อและการอักเสบของเซลล์

เบาหวาน

โรค เบาหวาน และการอักเสบผลกระทบมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลโดยตรง บางคนมีความว่องไวต่อการเป็นโรคในขณะที่บางคนก็ต้านทานต่อการเป็นโรคได้ด้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละคน

          คนที่ไวต่อการเป็นโรคเบาหวาน เกิดจากกระบวนการในร่างกายของเขาถูกระตุ้นให้เกิดสารสื่ออักเสบ เช่น Interleukin-1 , TNF-Alpha และสารอักเสบต่างๆมากมาย จนส่งผลกระทบต่อเซลล์เนื้อเยื่อ ทำให้เเกิดอนุมูลอิสระเช่น oxygen radical และ nitrogen radical ได้ และก่อให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อ หรือทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตสารสำคัญเช่น ฮอร์โมนอินซูลินเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ Type-I Diabetes 

          นอจากนี้ ยังอาจมีผลกระทบต่อตัวรับสัญญาณของอินซูลินที่อยู่บนผิวเซลล์ ที่ทำให้อินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ รวมทั้งสาเหตุอื่นๆ ของการอักเสบในระดับเซลล์ และภายในเซลล์อีกมากมาย ที่ทำให้เกิดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ Type-II

ความน่ากลัวของเบาหวาน

          โดยตัวของโรคเบาหวานเอง ก็มีความน่ากลัวในระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่ทำให้มีความน่ากลัวมากยิ่งขึ้นคือ เป็นเสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีกได้มากมาย เช่น แผลเน่าที่เท้า แขน ขา ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ทำให้เป็นแผลเรื้อรัง จนหลายรายต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้งไป โรคความดันโลหิตสูง จอประสาทตาเสื่อม  และ โรคไต ซึ่งทำให้เกิดอาการไตวายและเสียชีวิตในที่สุด กลายเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา

          โรคเบาหวานมีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้สูงกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ คนที่เป็นโรคเบาหวาน ยังมีแนวโน้มที่จะมีระดับ LDL สูงกว่าคนปกติ ทำให้มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นโรคไขมันในเลือดสูง และความดันสูงอีกด้วย

เบาหวาน เลี่ยงได้

           อย่ารอให้เป็น ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าในบรรดาผู้ป่วยเบาวหวาน จะมีแค่ 50% เท่านั้นที่รู้ว่าเป็น ที่เหลือไม่รู้เพราะไม่ได้ไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่จะไปพบแพทย์ก็ต่อเมื่อเป็นหนักแล้ว ที่สำคัญในปัจจุบัน แม้แต่ในเด็กก็สามารถเป็นโรคเบาหวานได้แล้ว ผู้ป่วยที่เป็นเบาวหวานจะต้องกินยา หรือฉีดอินซูลินเพื่อรักษาระดับน้ำตาลไปเรื่อยๆ จนกว่าระดับน้ำตาลจะดีขึ้น เมื่อหยุดแล้วระดับน้ำตาลกลับมาใหม่ ก็ต้องทำเหมือนเดิม และมักจะต้องกินยามากขึ้นเรื่อยๆ และรอให้เป็นโรคอื่นๆ เพิ่มขึ้นทีละโรคทีละโรค ส่วนเวลาที่มีบาดแผลก็หายยาก หากดูแลไม่ดีแผลนั้นก็จะลุกลามไปเรื่อยๆ จนต้องตัดอวัยวะนั้นทิ้ง คนไทยที่เป็นเบาหวานแล้วต้องถูกตัดขามีมากกว่าปีละ 40,000 คน

เบาหวาน

          เบาหวานเกิดจากการที่ร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือ มีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนอินซูลิน หรือทั้งสองอย่าง ทำให้เซลล์ของอวัยวะต่างๆ น้ำน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าไปใช้ไม่ได้ หรือ ได้น้อย จนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดส฿งกว่าปกติ (สูงกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) โดยโรคเบาหวานที่พบเป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

          เบาหวานชินดที่ 1 เป็นเบาหวานที่เกิดจากการที่ตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ตามปกติ

          เบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดนี้ตับอ่อนยังคงสามารถผลิตอินซูลินได้ตามปกติ แต่เซลล์ต่างๆ ของร่างายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลเข้าสู๋เซลล์ได้ โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนหรือมีไขมันมาก จะมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้ เพราะไขมันมีฐานะเป็นเสมือนต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งที่สะสมในร่างกาย ที่สามารถหลั่งฮอร์โมนที่มีคุณสมบัติยับยั้งการทำงานของอินซูลิน

รู้ได้อย่างไร ว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

    1. น้ำหนักลดผิดปกติ น้ำหนักที่ลดผิดปกติเกิดจากเซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญพลังงานได้ และน้ำตาลถูกขับออกทางปัสสาวะจำนวนมาก ร่างกายจึงนำกล้ามเนื้อ และไขมันมาเผาผลาญแทนการนำน้ำตาลมาใช้พลังงาน ทำให้น้ำหนักลดจนผิดปกติ
    2. ปัสสาวะบ่อย อาการปัสสาวะบ่อยเกิดจากฮอร์โมนอินซูลินทำงานผิดปกติ ส่งผลให้น้ำตาลภายในเลือดสูง และไตไม่สามารถกรองน้ำตาลส่วนเกินกลับคืนสู่เลือดได้หมด จึงปล่อยน้ำตาลออกมาพร้อมน้ำในปัสสาวะ ผู้ป่วยเบาหวานจึงปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก
    3. สายตาพร่ามัว สายตาที่พร่ามัวเกิดจาก ปริมาณน้ำตาลที่คั่งในเลนส์ตาทำให้การมองเห็นผิดปกติ หรือเกิดจากระดับของน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไป จนทำให้เกิดปฏิกิริยากับดวงตา จนทำให้เส้นเลือดประสาทตา (Retina) ผิดปกติ โดยอาการสายตาที่พร่ามัวอาจพัฒนารุนแรงจนถึงขั้นตาบอดได้
    4. ชาปลายมือ ปลายเท้า อาการชาปลายมือ ปลายเท้า เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจนทำลายเส้นประสาทส่วนปลาย ส่งผลให้อวัยวะบางส่วนชา เริ่มต้นจากปลายมือ ปลายเท้า ซึ่งนอกเหนือจากอาการชาแล้ว อาการที่ใกล้เคียงกันคือ ความรู้สึกจากการสัมผัสลดลงจนไม่เหลือความรู้สึกบริเวณปลายประสาท
    5. บาดแผลหายช้า สำหรับอาการบาดแผลที่หายช้า เกิดจากระดับน้ำตาลภายในเลือดสูง จนทำให้การทำงานของหลอดเลือดผิดปกติ เลือดจึงไม่สามารถหล่อเลี้ยงได้เพียงพอ กระบวนการในการซ่อมแซมร่างกาย จึงผิดปกติ ส่งผลให้บาดแผลที่เกิดขึ้นจะหายช้ากว่าปกติ ทั้งนี้บาดแผลของผู้ป่วยโรคเบาหวานหากดูแลรักษาไม่ดี มีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
    6. มีอาการกระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย เนื่องจากไตไม่สามารถกรองน้ำตาลกลับเข้าไปในเลือดจนขับออกมาเป็นปัสสาวะในปริมาณมาก ร่างกายจึงเกิดอาการขาดน้ำ ทำให้ต้องมีการดื่มชดเชยน้ำที่สูญเสียกลับเข้าไปทดแทน หากร่างกายเกิดภาวะสูญเสียน้ำในปริมาณมากอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการช็อกได้ง่ายอีกด้วย

    7. หมดเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย ร่างกายปกติของคนเราจะย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปให้อยู่ในน้ำตาลกลูโคส เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานให้แก่เซลล์ต่าง ๆ แต่เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย รู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าคนปกติ นอกจากนี้ยังหิวบ่อยขึ้นจากการที่ร่างกายขาดแหล่งพลังงาน

    8. เบื่ออาหาร หิวบ่อย กินจุกว่าเดิม

เบาหวาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ อาการแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะโคมาจากน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่วนภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง เช่น ภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต ระบบประสาท ปัญหาที่เท้าจากเบาหวาน รวมทั้งโรคที่มักพบร่วมกับเบาหวาน เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง

การที่ไม่สามารถคุมเบาหวานได้ ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจทำให้คุณเสี่ยงโรคร้ายแรงเหล่านี้ได้!!!

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ : หัวใจล้มเหลว
  • โรคหลอดเลือดสมอง : อัมพฤกษ์,อัมพาต
  • หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน : ชาปลายมือ-เท้า, เป็นแผลหายยาก

ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีเป็นระยะเวลานานอาจจะเกิด ภาวะเส้นเลือดตีบแข็งเร็วขึ้น ทำให้เกิดปัญหาหากับอวัยวะที่เส้นเลือดนั้นไปหล่อเลี้ยง เช่น เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตันก็จะทำให้เกิดอัมพาต เส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวาย หรือหากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาไม่เพียงพอทำให้ขาอ่อนแรง และมักมีอาการปวดขาเวลาเดิน กรณีหลังนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียขาของผู้ป่วยเบาหวานด้วย เนื่องจากจะทำให้แผลหายยาก

  • ภาวะแทรกซ้อนทางตา : จอประสาทตาเสื่อม, ตาบอด

“เบาหวานขึ้นตา” เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ทำให้หลอดเลือดในจอประสาทตาเริ่มอักเสบ โป่งพอง มีเลือด และน้ำเหลืองซึมออกมาทั่วๆ จอประสาทตา จะแสดงอาการค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวและละเลยการตรวจสภาพตาตามคำแนะนำของแพทย์ หากรั่วซึมถึงจุดศูนย์กลางของการรับภาพ อาจทำให้มีอาการตาพร่ามัว ยิ่งถ้าหลอดเลือดและพังผืดเกิดใหม่ยังมีผนังไม่แข็งแรง ฉีกขาดง่าย จะเป็นตัวที่ยึดดึงจอประสาทตาให้หลุดลอกออกมาและตาบอดสนิท

  • ภาวะแทรกซ้อนทางไต : ไตวาย

เบาหวานเป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิด ที่ 2 ร้อยละ 20.0-40.0 มีโอกาสเกิดภาวะโรคไต เรื้อรัง และเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท แบ่งพิจารณาตามอาการ โดยแบ่งได้เป็น ประสาทส่วนปลายเสื่อม ความผิดปกติของเส้นประสาทเส้นใดเส้นหนึ่ง

  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท แบ่งพิจารณาตามอาการ โดยแบ่งได้เป็น ประสาทส่วนปลายเสื่อม ความผิดปกติของเส้นประสาทเส้นใดเส้นหนึ่ง